4 ประเด็นหลักที่มักพบในข้อสอบ ตาราง ก.พ.
หากเข้าไปในเว็บไซต์หน่วยงานราชการเพื่อสืบค้นข้อมูลสถิติต่าง ๆ หลายคนคงเคยเห็นว่าหน่วยงานนั้น ๆ นิยมแสดงข้อมูลในรูปแบบตาราง นี่เป็นการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้จริงในชีวิตการทำงานที่เห็นได้ชัด การทดสอบเรื่องการอ่านและวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางในข้อสอบ ก.พ จึงมีความจำเป็น และในขณะเดียวกัน หากมองจากมุมของผู้เข้าสอบ โจทย์เรื่อง ตาราง ก.พ. ก็เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่ช่วยทำคะแนนให้เราได้อย่างง่ายดาย
ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นน่ะหรอ ??
คำตอบก็คือ ข้อสอบเรื่องตารางนั้นจะไม่ฉีกจากข้อสอบที่เคยออกไปในปีก่อน ๆ คนที่เตรียมตัวเรื่องนี้มาดีก็จะสามารถกวาดคะแนนไปได้อย่างไม่ยาก เพราะเรารู้จักโจทย์และจับแนวทางของโจทย์ได้ นอกจากนี้ เมื่อประมวลข้อสอบเรื่องตารางย้อนหลังดูจะพบว่าสิ่งที่โจทย์ถามมักมีอยู่ 4 ประเด็นหลัก ๆ ได้แก่
- การหาร้อยละ
- การหาอัตราความเปลี่ยนแปลง (เพิ่ม-ลด)
- การหาค่าเฉลี่ย
- การหาอัตราส่วน
ดังตัวอย่างโจทย์ที่คัดมาจากข้อสอบ ก.พ. ต่อไปนี้
ใน 4 ประเด็นข้างต้น เรื่องการหาร้อยละและการหาอัตราส่วนถือเป็นเรื่องฮิตที่ถูกออกสอบบ่อย หากใครกลัวว่าพื้นฐาน 2 เรื่องสำคัญนี้ยังไม่แน่น หรือไม่เข้าใจวิธีคิดแบบพื้นฐาน ขอแนะนำให้ลองหาบทเรียนมาทบทวนก่อน หรือจะลองสมัครติวแบบเจาะลึกได้ที่คอร์สติว ก.พ. ออนไลน์ (ลิ้งค์ไปคอร์สเรา) เพื่อช่วยปรับฐานความรู้ เพราะถึงแม้เทคนิคการทำข้อสอบจะมีสูตรคำนวณอยู่ แต่ถ้าเราขาดความรู้พื้นฐานก็อาจเลือกใช้สูตรพลาดและชวดคะแนนส่วนนี้ไปอย่างน่าเสียดาย
ส่วนใครที่พร้อมลุยโจทย์ตารางแล้ว ก่อนไปดูตัวอย่างข้อสอบ ก.พ. พร้อมวิธีคิด ติวกพ.com ขอฝากหลักการทำข้อสอบเรื่องตารางที่สำคัญมากไว้ข้อหนึ่ง คือ ตัวเลขในเรื่องตารางมักมีค่าเยอะมาก ทำให้หาคำตอบได้ช้า โจทย์เรื่องตารางจึงเป็นเรื่องที่จะมา “ลดทอนเวลาทำข้อสอบ” ของเรา ดังนั้นต้องระวังและตั้งสติให้ดี! และเพื่อให้เราคำนวณได้รวดเร็วขึ้น เทคนิคที่ต้องนำมาใช้ให้คล่องเข้าไว้คือ การประมาณค่า แทนที่จะใช้ค่าตรง ๆ ตามตัวเลขในตารางมาคำนวณ เราก็กะค่าใหม่คร่าว ๆ ให้ใกล้เคียงกับข้อมูลนั้นเพื่อให้นำไปคำนวณได้ง่ายกว่า ซึ่งนอกจากจะใช้กับตัวเลขในตารางที่โจทย์กำหนดมาแล้ว ยังใช้กับตัวเลขที่ปรากฏในส่วนคำตอบได้อีกด้วย (เพราะข้อสอบเรื่องนี้ คำตอบในแต่ละตัวเลือกมักมีค่าไม่ใกล้เคียงกันมากนัก)
เพื่อให้เห็นภาพ เรามาดูวิธีใช้หลักการประมาณค่า ควบคู่กับสูตรสำคัญที่มักได้ใช้บ่อย ๆ ในตัวอย่างข้อสอบ ก.พ. เรื่องตารางด้านล่างนี้กันดีกว่าครับ
ตัวอย่างข้อสอบ ตาราง ก.พ.
ตารางแสดงข้อมูลของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตัวอย่างโจทย์จากหนังสือ คู่มือติวคณิต ก.พ. (ภาค ก) อ่าน-ดู-โหลด
วิธีคิดโจทย์ตาราง ก.พ. ข้อที่ 1
- เริ่มจากอ่านตารางแล้วประมาณค่าของข้อมูลที่ตารางกำหนดมาให้
- ประมาณค่าของพื้นที่อินโดนิเซียและพื้นที่ทั้งหมด
- คำนวณตัวเลขที่ประมาณค่าตามสูตรการหาร้อยละว่า A เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของ B คือ A = x (B) / 100
- จะได้เป็น
- ค่าประมาณของคำตอบที่ได้เท่ากับ 40
- ฉะนั้น เมื่อเทียบกับตัวเลือก คำตอบที่ใกล้เคียงที่สุดก็คือ 44 นั่นเอง
วิธีคิดโจทย์ตาราง ก.พ. ข้อที่ 2
- เริ่มต้นอ่านตารางแล้วประมาณค่าของข้อมูลที่ตารางกำหนดมาให้ดังนี้
- จำนวนประชากรสิงคโปร์ = 5.2 ≈ 5 ล้านคน
- จำนวนประชากรกัมพูชา = 14.7 ≈ 15 ล้านคน
- จำนวนประชากรเมียนมา = 54 ≈ 50 ล้านคน
- นำค่าประมาณจัดเรียงตามลำดับเพื่อหาอัตราส่วน
- = จำนวนประชากรสิงคโปร์ : จำนวนประชากรกัมพูชา : จำนวนประชากรเมียนมา
- = 5 : 15 : 50
- = 1 : 3 : 10
- ฉะนั้น คำตอบที่ถูกต้องของข้อนี้ก็คือ 1 : 3 : 10
สังเกตว่าถ้าเราเห็นตารางแล้วตกใจไปกับข้อมูลตัวเลข โอกาสเสียกำลังใจในการคิดคำตอบจะลดฮวบ เพราะนอกจากจำนวนหลักของตัวเลขจะสูงแล้ว ยังมีตัวเศษยิบย่อยมากมาย การประมาณค่าข้อมูลในตารางให้เป็นเลขกลม ๆ คำนวณง่าย จะช่วยเราได้มาก เหมือนเปลี่ยนโจทย์ที่ดูยากให้กลายเป็นโจทย์หมู ๆ ได้เลยทีเดียว แต่เพื่อให้มั่นใจ 100 เปอร์เซ็นต์ สอบรอบหน้าจะคว้าคะแนนเรื่องตารางมาให้ได้ เราก็มี ข้อสอบ ก.พ. ออนไลน์ ที่เป็นข้อสอบจริง ที่รวบรวมย้อนหลังให้ถึง 6 ปี เตรียมไว้ให้ ทุกคนที่อยากฝึกเพิ่มเติมทั้งในเรื่องเทคนิค หรือจะเน้นย้ำฐานความรู้ สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้เลยครับ หรือใครที่อยากติวคณิตศาสตร์หรือวิชาอื่น ๆ แบบเจาะลึกอย่างละเอียด ด้วย ทางเราก็มีคอร์สติวแบบครบทุกวิชา ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงจับมือพาตะลุยโจทย์ ก็สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมและทักไปได้ที่ facebook.com/tiwgorpor แล้วมาผ่าน ก.พ. ปีนี้ไปพร้อม ๆ กันนะครับ 🙂