วันนี้เราจะมาดูแนวข้อสอบ ก.พ. วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ในส่วนของการคิดวิเคราะห์เชิงภาษา หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า วิชา ภาษาไทย ก.พ. กันครับ วิชานี้อาจดูเป็นวิชาที่ฟังดูง่าย แต่กลับมีความยากอยู่ในตัว เพราะเนื้อหาที่ออกสอบนั้นค่อนข้างกว้าง และคาดเดาได้ยาก ไม่เหมือนวิชาคณิตศาสตร์ที่แค่เข้าใจหลักการก็สามารถทำข้อสอบได้
โดยวิชานี้จะเน้นวิเคราะห์มากกว่าท่องจำ วัดความสามารถในเชิงการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย การจับใจความสำคัญ การสรุปความ การตีความจากบทความ ข้อความ หรือสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งแม้ว่าจะมีสัดส่วนคะแนนน้อยกว่า part คณิตศาสตร์ แต่ก็ไม่ควรพลาดคะแนนนี้เด็ดขาดนะครับ!
เนื้อหาที่ออกสอบบ่อยใน ภาษาไทย ก.พ.
เนื้อหาที่ออกสอบบ่อย ๆ ได้แก่
การจับใจความสำคัญ หรือการสรุปความ
เป็นการอ่านบทความแล้วตอบคำถามโดยการคิดวิเคราะห์จากโจทย์ หรือสถานการณ์ที่ให้มา ซึ่งคำตอบจะสัมพันธ์กับบทความที่ให้มาครับ
การเรียงลำดับข้อความ
ข้อสอบจะให้ข้อความมาหลาย ๆ ประโยค ให้เรานำมาเรียงลำดับก่อนหลังให้ถูกต้องเหมาะสม
หลักภาษา
เป็นการนำหลักการภาษาไทยต่าง ๆ มาออกสอบ เช่น การใช้คำฟุ่มเฟือย คำภาษาต่างประเทศ เป็นต้น
เทคนิคง่าย ๆ ที่จะเก็บคะแนนวิชานี้แบบเต็ม ๆ ก็คือการฝึกทำข้อสอบ ก.พ.เอาไว้เยอะ ๆ อ่านโจทย์ให้ดี มีสติในการทำข้อสอบ ก็จะผ่านกันไปได้ไม่ยาก เพราะข้อดีของวิชานี้ คือ ไม่ต้องจำสูตรคำนวณเหมือนคณิตศาสตร์
สำหรับใครที่อยากไปลองทำข้อสอบออนไลน์ สามารถไปติดตามกันได้ที่ ติวกพ.com ซึ่งจะมีแนวข้อสอบเก่า ข้อสอบ ก.พ. ย้อนหลังพร้อมเฉลยแบบละเอียด เตรียมไว้ให้ทุกคน สำหรับใช้ติวสอบ ก.พ. กันครับ 🙂