ในข้อสอบ ก.พ. มีโจทย์รูปแบบหนึ่งแสดงข้อมูลและเงื่อนไขในรูปแบบตาราง ซึ่งหากมองผ่าน ๆ อาจเข้าใจผิดว่าเป็นตารางทั่วไป แต่ความจริงโจทย์ดังกล่าวเป็นข้อสอบเรื่อง สดมภ์ ก.พ. เนื่องจากในทางคณิตศาสตร์ สดมภ์คือช่องในแนวตั้งสำหรับกรอกรายการต่าง ๆ เช่น ตัวเลข สัญลักษณ์ หรือสูตร โดยทั่วไปมีอยู่ 3 แถว มีชื่อเรียกว่า สดมภ์ ก สดมภ์ ข และสดมภ์ ค แต่บางครั้งอาจเปลี่ยนชื่อเป็นสดมภ์ 1 สดมภ์ 2 และ สดมภ์ 3 หรือสดมภ์ A สดมภ์ B และสดมภ์ C ดังตัวอย่างด้านล่าง
หลักการตอบโจทย์ สดมภ์ ก.พ.
หลักการตอบข้อสอบ ก.พ. เรื่องสดมภ์มีกฎตายตัวคล้ายคลึงกับเรื่องเงื่อนไขทางภาษาหรือเงื่อนไขสัญลักษณ์คือ
- เลือกตอบ ข้อ 1 เมื่อได้ข้อสรุปว่า สดมภ์ ก > สดมภ์ ข
- เลือกตอบ ข้อ 2 เมื่อได้ข้อสรุปว่า สดมภ์ ก < สดมภ์ ข
- เลือกตอบ ข้อ 3 เมื่อได้ข้อสรุปว่า สดมภ์ ก = สดมภ์ ข
- และเลือกตอบ ข้อ 4 เมื่อไม่สามารถสรุปได้ว่าสดมภ์ใดมากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากัน
ส่วนวิธีหาข้อสรุปว่าคำตอบจะสอดคล้องกับตัวเลือกใดใน 4 ข้อนี้ เราต้องอาศัยเงื่อนไขที่ปรากฏในสดมภ์ ค มาคำนวณหาค่าของสดมภ์ ก และ ข แล้วเปรียบเทียบกัน หัวใจสำคัญของการทำข้อสอบสดมภ์จึงมักอยู่ที่สดมภ์ ค เป็นหลัก ซึ่งอาจกำหนดเงื่อนไขครอบคลุมความรู้ทางคณิตศาสตร์หลาย ๆ หัวข้อไว้ ทั้งเรื่องระบบจำนวนจริง เรื่องการแก้สมการและอสมการ เรื่องสมบัติของเลขยกกำลัง และอื่น ๆ
ตัวอย่างวิธีทำข้อสอบ สดมภ์ ก.พ.
โจทย์ที่ ติวกพ.com หยิบยกมาในครั้งนี้คือข้อสอบ ก.พ. ของปี 62 ซึ่งเป็นโจทย์ที่ประมวลความรู้เรื่องสมบัติของเลขยกกำลัง ระบบจำนวนจริง และการแก้สมการเอาไว้ (ถือเป็นหัวข้อสำคัญที่พบบ่อยในข้อสอบสดมภ์ก็ว่าได้)
ตัวอย่างวิธีทำข้อสอบสดมภ์ ข้อที่ 1
คำตอบของข้อนี้คือ ข้อ 1 สดมภ์ ก > สดมภ์ ข เพราะเราสามารถแก้สมการในสดมภ์ ค แล้วระบุค่าของ Z ในสดมภ์ ก เพื่อเปรียบเทียบกับค่าในสดมภ์ ข คือ -2 ได้ ดังนี้
วิธีทำ
- ก่อนที่เราจะตอบโจทย์นี้ได้ เราต้องรู้ให้ได้ว่า สดมภ์ ก (ค่า z) คือเท่าไหร่ เพื่อนำมาเทียบกับ สดมภ์ ข (-2)
- จากโจทย์กำหนด เราจะสังเกตว่า เราสามารถหาค่า z ได้จาก สดมภ์ ค เพราะเป็นสมการที่สามารถแก้ได้
- เมื่อลองแก้สมการจะได้ดังนี้
- (z^2) – 1 = 0
- z^2 = 1
- z = 1 ไม่ก็ -1 เพราะทั้งสองค่าเมื่อถูกยกกำลัง 2 แล้วเท่ากับ 1
- เมื่อลองมาเปรียบเทียบแล้ว สดมภ์ ก (1,-1) มีค่ามากกว่า สดมภ์ ข (-2)
- ดังนั้น ข้อนี้จึงตอบ ข้อ 1 สดมภ์ ก > สดมภ์ ข
ตัวอย่างวิธีทำข้อสอบสดมภ์ ข้อที่ 2
คำตอบของข้อนี้คือ ข้อ 2 สดมภ์ ก < สดมภ์ ข สังเกตว่าในสดมภ์ ค ไม่มีเงื่อนไขระบุไว้ ทำให้เราคำนวณค่าในสดมภ์ ก และ ข แล้วเปรียบเทียบกันได้โดยตรง ดังวิธีต่อไปนี้
วิธีทำ
- จากสดมภ์ที่โจทย์กำหนดมานั้น สังเกตว่าไม่มีตัวแปร (x,y,z) อะไรอยู่ในสดมภ์ เพราะฉะนั้นเราสามารถหาค่าของสดมภ์ ก ก็จะสามารถตอบโจทย์ได้แล้ว
- หาค่า สดมภ์ ก
- สดมภ์ ก = (2+3)^-1
- สดมภ์ ก = 5^-1
- สดมภ์ ก = 1/5
- เมื่อนำค่าของทั้งสองสดมภ์มาเทียบ สดมภ์ ก (1/5) มีค่าน้อยกว่า สดมภ์ ข (5)
- ดังนั้น ข้อนี้จึงตอบ ข้อ 2 สดมภ์ ก < สดมภ์ ข
ตัวอย่างวิธีทำข้อสอบสดมภ์ ข้อที่ 3
คำตอบของข้อนี้คือ ข้อ 4 ไม่สามารถสรุปได้ว่าสดมภ์ ก หรือสดมภ์ ข มีค่ามากกว่ากัน เพราะเมื่อพิจารณาเงื่อนไขตามสมบัติของจำนวนจริงแล้วจะเห็นว่าค่า X และ Y ไม่สามารถสรุปชัดเจนได้เช่นกรณีที่ 1 และ 2 ในวิธีคิดต่อไปนี้
หลังจากลองดูตัวอย่างข้อสอบกันไปแล้ว คงสังเกตได้ว่าโจทย์เรื่องสดมภ์นั้นไม่ซับซ้อน เพราะเป็นข้อสอบที่เน้นการเชื่อมโยงและวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยอาศัยความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นหลัก ใครที่เตรียมตัวมาดีจึงวางใจได้เลยว่าสามารถกวาดคะแนนส่วนนี้ได้อย่างแน่นอน และวิธีที่ช่วยให้เตรียมตัวได้พร้อมย่อมเป็นการหมั่นทำโจทย์ให้มาก และหลากหลาย เพราะวิธีคิดในหัวข้ออื่น ๆ อาจกลายมาเป็นเงื่อนไขในเรื่องสดมภ์ได้เสมอ
สำหรับใครกำลังหาข้อสอบ ก.พ. ของปีก่อน ๆ เพื่อฝึกทำโจทย์เยอะ ๆ ติวกพ.com มี คลังข้อสอบออนไลน์ พร้อมให้ทุกคนนำไปฝึกฝนกันได้ทันที รวมทั้งยังมี คอร์สติวสอบแบบละเอียดครบทุกวิชา เหมาะสำหรับคนที่อยากให้ติวเตอร์ช่วยเสริมเทคนิคต่าง ๆ อีกด้วย ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ facebook.com/tiwgorpor ครับผม
แล้วมาเตรียมตัวผ่านสนามสอบ ก.พ. ปีนี้ได้ด้วยกันนะครับ 🙂