>

>

เงื่อนไขทางภาษา ก.พ. หลักและวิธีตีโจทย์ข้อสอบ

FREE ! PDF ข้อสอบ ก.พ.

ข้อสอบ ก.พ. ฟรี อัพเดทล่าสุด! คัดข้อสอบมาจากข้อสอบจริง ครบทุกวิชา คณิต ไทย อังกฤษ กฎหมาย โดยทีมงานนักวิชาการ ติวกพ.com

สรุปเนื้อหา ก.พ.

การจับใจความสำคัญ ก.พ.

การเรียงลำดับข้อความ ก.พ.

Conversation

Reading

Grammar

Vocabulary

พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534

พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539

พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539

พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม 2562

พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 2546

ประมวลกฎหมายอาญา 2499

เงื่อนไขทางภาษา ก.พ. หลักและวิธีตีโจทย์ข้อสอบ

เงื่อนไขทางภาษา

ก่อนหน้านี้ติว ก.พ. com ได้แนะนำวิธีทำโจทย์ เงื่อนไขสัญลักษณ์ ก.พ. กันไปแล้ว ทว่าในข้อสอบ ก.พ. ยังมีโจทย์ที่แสดงเงื่อนไขเพื่อให้เราหาข้อสรุปอีกรูปแบบหนึ่งด้วย นั่นคือข้อสอบ เงื่อนไขทางภาษา ก.พ. นั่นเอง  โจทย์เรื่องนี้ออกสอบทุกปีเหมือนกันครับ เพราะมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการวิเคราะห์ข้อความ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ และจัดหมวดหมู่ของสิ่งที่โจทย์กำหนด  ฉะนั้น แนวทางที่ทำให้เราคว้าคะแนนส่วนนี้มาได้จึงอาศัยการฝึกตีโจทย์แล้วแจกแจงข้อมูลอย่างเป็นระบบระเบียบ  ติว ก.พ. com เลยจะมาอธิบายลักษณะข้อสอบและมีเทคนิคมาแนะนำให้เพื่อน ๆ ทุกคนครับ

รูปแบบของตัวเลือกคำตอบในโจทย์ เงื่อนไขทางภาษา ก.พ.

ลักษณะโจทย์ของเงื่อนไขทางภาษานั้นจะมีข้อความมาให้ จากนั้นก็ให้เราพิจารณาว่าข้อความที่ให้มานั้นถูก ผิด หรือไม่แน่ชัด คล้าย ๆ กันกับเรื่องเงื่อนไขสัญลักษณ์ หลักการตอบคำถามเงื่อนไขทางภาษาจึงคล้ายคลึงกันด้วย กล่าวคือ โจทย์จะให้ข้อสรุปมา 2 ข้อเพื่อให้เราวิเคราะห์ดูว่าถูก ผิด หรือ ไม่แน่ชัด เมื่อเรารู้คำตอบของข้อสรุปทั้ง 2 ข้อแล้วจึงเลือกคำตอบตามเงื่อนไข ดังนี้

  1. ให้ตอบ ข้อ 1 ถ้า ข้อสรุปทั้งสองถูกต้อง หรือเป็นจริงตามเงื่อนไข
  2. ให้ตอบ ข้อ 2 ถ้า ข้อสรุปทั้งสองไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นจริงตามเงื่อนไข
  3. ให้ตอบ ข้อ 3 ถ้า ข้อสรุปทั้งสองไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าถูกต้อง หรือไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข
  4. ให้ตอบ ข้อ 4 ถ้า ข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่งเป็นจริง หรือไม่เป็นจริง หรือไม่แน่ชัด ซึ่งไม่เท่ากับอีกข้อสรุปหนึ่ง

เทคนิคทำโจทย์ เงื่อนไขทางภาษา ก.พ.

หลังจากรู้ลักษณะของโจทย์กันแล้ว เรามาจดจำเทคนิคการทำโจทย์เงื่อนไขทางภาษากันดีกว่า มีแค่เพียง 3 ข้อเท่านั้น คือ

  1. ต้องอ่านเงื่อนไขที่โจทย์ให้มาทั้งหมดเสียก่อน
  2. ระวังอย่าใช้เงื่อนไขแค่ 1–2 เงื่อนไขตอบคำถาม แต่ควรใช้เงื่อนไขทั้งหมดที่เป็นไปได้และสัมพันธ์กับคำถามมาประกอบกันเพื่อหาข้อสรุป
  3. ห้ามใส่ความคิดของตัวเองลงไป ควรตระหนักอยู่เสมอว่าข้อสรุปเกิดจากเงื่อนไขที่โจทย์กำหนดให้เท่านั้น

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน และเป็นการลองทดสอบไปด้วยในตัวว่าเราจะตีโจทย์เงื่อนไขทางภาษาได้หรือไม่ ติว ก.พ. com เลยขอเลือกข้อสอบจริงจากการสอบ ก.พ. ปี 63 มาให้ทุกคนลองทำดู  แนะนำว่าให้ลองอ่านโจทย์แล้วตอบด้วยตัวเองดูก่อนจะเลื่อนลงไปดูเฉลยหรือวิธีหาคำตอบที่เราสรุปไว้นะครับ ^^  

วิธีทำโจทย์ เงื่อนไขทางภาษา ก.พ.

ตัวอย่างโจทย์ เงื่อนไขทางภาษา ก.พ.

คน 5 คน มีอาชีพไม่ซ้ำกัน ชื่อ A B C D E งานอดิเรก อายุ ไม่ซ้ำกัน มีอาชีพ ครู ตำรวจ นักธุรกิจ ทนาย งานอดิเรกมี ปลูกต้นไม้ เลี้ยงปลา วาดรูป ว่ายน้ำ สะสมของเก่า

  • A เกิด พ.ศ. 2519 เป็นทหาร
  • B อ่อนกว่า A 3 ปี เลี้ยงปลา
  • C อ่อนกว่า A 1 ปี
  • D ไม่ใช่ครูหรือตำรวจ ชอบวาดรูป
  • E อ่อนกว่า C 3 ปี สะสมของเก่า

ติ๊กต่อก ๆ…คำตอบของข้อนี้มีอยู่ในเงื่อนไขเรียบร้อย ถ้าอ่านเงื่อนไขครบถ้วน เชื่อมโยงเงื่อนไขตามที่โจทย์กำหนด คำตอบของข้อนี้ก็คือ ข้อ 4 หรือ ข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่งเป็นจริง ไม่เป็นจริง หรือไม่แน่ชัด นั่นเอง เหตุผลที่ตอบข้อ 4 สามารถตรวจสอบได้จากเงื่อนไข ดังนี้

วิเคราะห์ข้อสรุปจากโจทย์ เงื่อนไขทางภาษา

วิเคราะห์ข้อสรุปที่ 1 (A อายุน้อยกว่า B)

  • จากโจทย์
    • B อายุน้อยกว่า A 3 ปี และชอบเลี้ยงปลา
  • พิจารณา
    • ตัดให้เหลือเฉพาะที่เราจะนำไปพิจารณาจะเหลือ
    • B อายุน้อยกว่า A 3 ปี
    • เรียงประโยคใหม่จะได้
    • A อายุมากกว่า B ปี
  • หมายความว่า : A อายุมากกว่า B
  • ข้อสรุปที่ 1 ไม่เป็นจริง เพราะเงื่อนไขกำหนดไว้ว่า “นาย B อายุน้อยกว่านาย A 3 ปี และชอบเลี้ยงปลา”

วิเคราะห์ข้อสรุปที่ 2

  • จากโจทย์
    • E สะสมของเก่า แต่อายุน้อยกว่า C 3 ปี
    • C อายุน้อยกว่า A 1 ปี
  • พิจารณา
    • ตัดให้เหลือเฉพาะที่เราจะนำไปพิจารณาจะเหลือ
    • E อายุน้อยกว่า C 3 ปี
    • และ C อายุน้อยกว่า A 1 ปี
    • แสดงว่า อายุ E > อายุ C > อายุ A
  • หมายความว่า : A อายุมากกว่า E
  • ขณะที่ ข้อสรุปที่ 2 เป็นจริง เพราะเงื่อนไขกำหนดไว้ว่า “นาย E สะสมของเก่า แต่อายุน้อยกว่านาย C 3 ปี” และ “นาย C อายุน้อยกว่านาย A 1 ปี”

สรุปและหาคำตอบ

  • ข้อสรุปที่ 1 (A อายุน้อยกว่า B) ไม่เป็นจริง (เพราะเราพิสูจน์จากโจทย์แล้วว่า A อายุมากกว่า B)
  • ขณะที่ ข้อสรุปที่ 2 (A อายุมากกว่า E) เป็นจริง (เพราะเราพิสูจน์จากโจทย์แล้วว่า A อายุมากกว่า E)
  • คำตอบของข้อนี้ก็คือ ข้อ 4 หรือ ข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่งเป็นจริง ไม่เป็นจริง หรือไม่แน่ชัด

เห็นได้ว่าข้อสอบเงื่อนไขทางภาษานั้นไม่ยากเลย  สิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่ตัวเราต้องอ่านเงื่อนไขทั้งหมดอย่างถี่ถ้วน เชื่อมโยงเงื่อนไขตามที่โจทย์กำหนดมาให้ได้ และคำนึงถึงสิ่งที่โจทย์กำหนดอยู่เสมอ ซึ่งแต่ละคนจะชำนาญการตีโจทย์แค่ไหน อ่านเงื่อนไขได้คล่องแคล่วเพียงใดล้วนขึ้นอยู่กับการหมั่นหาโจทย์เงื่อนไขทางภาษา ก.พ. มาฝึกฝน

ติว ก.พ. com ช่วยเพื่อน ๆ ได้อีกทาง เพราะเรารวบรวม ข้อสอบย้อนหลัง 6 ปี ไว้ให้ทดลองทำผ่านช่องทางออนไลน์ อยากฝึกเมื่อไหร่ก็ฝึกได้ทันที  หรือใครทำโจทย์แล้วยังไม่มั่นใจ อยากเรียนรู้เทคนิคและย้ำความรู้ในแต่ละเรื่องให้แน่นปึ้ก เรามีคอร์สเรียนออนไลน์ครบทุกวิชาให้เลือกอีกด้วย  เราพร้อมที่จะช่วยให้ทุกคน เตรียมพร้อมพิชิตข้อสอบ ก.พ. ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และผ่าน ก.พ. ปีนี้ไปได้ด้วยกันครับ

อย่ามัวเสียเวลา เรามาเริ่มติว ก.พ. เตรียมสอบกันดีกว่าครับ 🙂

ลองทำข้อสอบ ก.พ. วิชาอื่นๆ ได้ที่นี่

คอร์สเตรียมผ่าน ก.พ.'66

  • ครบทุกวิชา สอนละเอียดแบบจับมือทำ
  • สอนทุกเทคนิคใช้ได้จริงตอนสอบ
  • เนื้อหาล่าสุดสำหรับเตรียมสอบปีนี้
  • ติวรับรองผล เรียนจบ สอบผ่าน!

แจกฟรี ! ข้อสอบ ก.พ. ทุกวิชา พร้อมเฉลยละเอียด

ข้อสอบ ก.พ. ฟรี อัพเดทล่าสุด! คัดข้อสอบมาจากข้อสอบจริง ครบทุกวิชา คณิต ไทย อังกฤษ กฎหมาย โดยทีมงานนักวิชาการ ติวกพ.com

สรุปเนื้อหา ก.พ.

การจับใจความสำคัญ ก.พ.

การเรียงลำดับข้อความ ก.พ.

Conversation

Reading

Grammar

Vocabulary

พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534

พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539

พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539

พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม 2562

พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 2546

ประมวลกฎหมายอาญา 2499