รู้หรือไม่? ว่าโจทย์เรื่องเงื่อนไขสัญลักษณ์มีอัตราส่วนออกข้อสอบมากที่สุดในข้อสอบ ก.พ. ครั้งล่าสุดของปี 2563!! เมื่อรู้อย่างนี้คงต้องติวหลักตะลุยโจทย์กันหน่อย เพราะนี่คือจุดที่ทุกคนจะทำคะแนนได้ไม่น้อยเลย แต่ก่อนจะคว้าคะแนนจากเรื่องเงื่อนไขสัญลักษณ์ให้อยู่มือ แรกสุดเรามาทบทวนและทำความรู้จัก เงื่อนไขสัญลักษณ์ ก.พ. กันก่อน
หลักการตอบโจทย์ในข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์ ก.พ.
เงื่อนไขสัญลักษณ์ เป็น 1 ในเรื่องที่ออกข้อสอบ ก.พ. ทุกปี ในโจทย์จะแสดงเงื่อนไขที่ประกอบด้วยตัวอักษรต่าง ๆ และเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ เช่น =, ≠, >, ≯, <, ≮, ≥ และ ≤ จากนั้นจึงให้ข้อสรุปมาเป็นคู่ เพื่อให้เราพิจารณาว่าข้อสรุปคู่ดังกล่าวถูกต้องตามเงื่อนไขที่โจทย์กำหนดมาหรือไม่ การตอบคำถามมีหลักการดังนี้
- ให้ตอบ ข้อ 1 ถ้า ข้อสรุปทั้งสอง ถูกต้องตามเงื่อนไข
- ให้ตอบ ข้อ 2 ถ้า ข้อสรุปทั้งสอง ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข
- ให้ตอบ ข้อ 3 ถ้า ข้อสรุปทั้งสอง ไม่อาจสรุปได้แน่ชัดว่าถูกต้องตามเงื่อนไขหรือไม่
- ให้ตอบ ข้อ 4 ถ้า ข้อสรุปข้อใด ข้อหนึ่งถูกต้อง ไม่ถูกต้อง หรือไม่แน่ชัด ซึ่งไม่เท่ากับอีกข้อสรุปหนึ่ง
จุดที่เน้นคำหนา คือเรื่องที่ผู้ทำข้อสอบต้องรอบคอบและเลือกคำตอบดี ๆ ระวังอย่าเผลอเลือกผิดเพราะสับสนเด็ดขาด ซึ่งถ้าทุกคนเข้าใจหลักการแล้ว โจทย์เรื่องเงื่อนไขสัญลักษณ์นั้นก็ไม่ยากเกินความสามารถของคนที่เตรียมความพร้อมมาอย่างดีแน่นอน
ถ้าอย่างนั้น เรามีหลักเตรียมตัวยังไงบ้าง?
เครื่องหมายต่างๆ ในเงื่อนไขสัญลักษณ์ ก.พ.
สิ่งสำคัญที่สุดคือ การหมั่นทำโจทย์ให้คุ้นเคยกับสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้เห็นปุ๊บแปลความหมายได้ปั๊บ สามารถถอดเงื่อนไขในโจทย์ได้อย่างรวดเร็ว สังเกตดูว่าในสัญลักษณ์ที่ยกมาก่อนหน้านี้ มีสัญลักษณ์บางตัวที่เราไม่ค่อยใช้ในชีวิตประจำวันปนอยู่ นั่นคือ ≯ และ ≮ หากโจทย์ข้อใดมีสัญลักษณ์ทั้งสองอย่างนี้ เราต้องแปลงเครื่องหมายกันก่อนตามหลักการดังนี้
- ≯ คือเครื่องหมาย “ไม่มากกว่า” มีความหมายว่า “เท่ากับหรือน้อยกว่า” จึงเท่ากับเครื่องหมาย ≤
- ส่วน ≮ คือเครื่องหมาย “ไม่น้อยกว่า” มีความหมายว่า “เท่ากับหรือมากกว่า” จึงเท่ากับเครื่องหมาย ≥
ลำดับการพิจารณาเครื่องหมายในเงื่อนไขสัญลักษณ์
หลังจากดูโจทย์แปลงเครื่องหมายที่ไม่คุ้นเสร็จแล้ว ขั้นถัดไปคือเชื่อมตัวแปรและหาตัวร่วมของเงื่อนไข ถ้าเครื่องหมายหลังการเชื่อมตัวแปรไปคนละทางให้ตอบว่า “ไม่แน่ชัด” แต่ถ้าเครื่องหมายหลังการเชื่อมตัวแปรไปทางเดียวกัน เรามีหลักการตอบโดยเลือกเครื่องหมายตามลำดับต่อไปนี้
- ให้เลือกเครื่องหมาย <, > ก่อนเครื่องหมายอื่นๆ
- ให้เลือกเครื่องหมาย ≤, ≥ เป็นลำดับต่อมา
- ให้เลือกเครื่องหมาย = เป็นลำดับสุดท้าย
เมื่อพอรู้ลักษณะของโจทย์เงื่อนไขสัญลักษณ์ พร้อมกับมีเทคนิคหาคำตอบเรียบร้อยแล้ว ต่อไปเรามาดูตัวอย่างข้อสอบจริงจากข้อสอบ ก.พ. ของปี 63 กันเลยดีกว่า แนะนำว่าอยากให้ทุกคนลองฝึกทำและตอบด้วยตัวเองก่อน ผิดถูกยังไงใต้โจทย์มีเฉลยและเทคนิคการหาคำตอบให้ทบทวนอีกครั้งด้วยครับ แต่ถ้าใครยังไม่แน่ใจว่าทำยังไง ไปดูพร้อม ๆ กันได้เลยครับ :)บบ
เริ่มกันเลย!
ตัวอย่างโจทย์ เงื่อนไขสัญลักษณ์ ก.พ.
วิธีคิดและตรวจสอบข้อสรุปทั้ง 2 ข้อมีดังนี้
พิสูจน์ข้อสรุปที่ 1
- ให้เราลองหาดูว่า A+B และ E อยู่ในสมการไหนจากที่โจทย์กำหนด ซึ่งก็คือ สมการในบรรทัดแรก A+B > (2C+2D) = E < F
- สังเกตว่า (2C+2D) = E
- เราจึงบอกได้ว่า A+B > E
- เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า ข้อสรุป 1 เป็นจริง
พิสูจน์ข้อสรุปที่ 2
- ให้เราลองหาดูว่า 2D และ F อยู่ในสมการไหนจากที่โจทย์กำหนด ซึ่งก็คือ สมการในบรรทัดแรก A+B > (2C+2D) = E < F
- สังเกตว่า (2C+2D) = E < F
- เราจึงบอกได้ว่า (2C+2D) < F
- นั่นหมายความว่า 2D ตัวเดียวจะมีค่าน้อยกว่า 2C+2D อย่างแน่นอน เราจึงเขียนออกมาเป็นสมการได้ว่า 2D < (2C+2D)
- ลองมาแทนในสมการเดิมจะได้เป็น 2D < (2C+2D) < F
- เราจึงบอกได้ว่า 2D < F
- เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า ข้อสรุป 2 เป็นจริง
หาคำตอบ
- ข้อสรุปที่ 1 และ ข้อสรุปที่ 2 เป็นจริง
- คำตอบของข้อนี้คือ ข้อ 1 ข้อสรุปทั้งสองถูกต้องตามเงื่อนไข
ใครลองทำข้อสอบจริงเรื่องเงื่อนไขสัญลักษณ์ข้อนี้ดูแล้ว รู้สึกว่ายังจับทริกซ์และนำเทคนิคไปใช้ไม่คล่องเท่าที่ควร อยากหาโจทย์ฝึกฝนเพิ่มและลองทำบ่อย ๆ เพื่อเสริมความมั่นใจการันตีคะแนนว่าจะไม่พลาดตรงส่วนนี้อย่างแน่นอน ทาง ติวกพ.com มี คอร์สตะลุยโจทย์ และ ข้อสอบออนไลน์ ให้ด้วย หลังจากนี้มาใช้เวลาก่อนสอบ ก.พ. รอบต่อไปกับเรา ฝึกทำโจทย์เงื่อนไขสัญลักษณ์ให้เก่งชัวร์ แล้วคว้าคะแนนกับตำแหน่งงานที่หมายปองกันนะครับ 🙂