ก.พ. ภาค ก

ภาค ก, ภาค ก พิเศษ ออกสอบวิชาอะไรบ้าง

ภาค ก ท้องถิ่น

การรับสมัคร และวิธีสมัครสอบ ภาค ก

หนังสือรับรอง ภาค ก

สถิติการสอบผ่าน ก.พ. ภาค ก

ก.พ. ภาค ข

ก.พ. ภาค ค

FREE ! PDF ข้อสอบ ก.พ.

ข้อสอบ ก.พ. ฟรี อัพเดทล่าสุด! คัดข้อสอบมาจากข้อสอบจริง ครบทุกวิชา คณิต ไทย อังกฤษ กฎหมาย โดยทีมงานนักวิชาการ ติวกพ.com

เกี่ยวกับข้าราชการ

สวัสดิการ

ฐานเงินเดือน

บำเหน็จ บำนาญ

ทำความรู้จักการ “สอบ ก.พ.” แบบเข้าใจง่าย(ที่สุด)

สอบ ก.พ. คืออะไร

การสอบ ก.พ. คืออะไร ?

เชื่อว่าหลังจากที่หลายคนเรียนจบจากสถานศึกษาแล้วพร้อมร่อนใบสมัครงานไปยังองค์กรต่างๆ คงเคยได้ยินพ่อแม่หรือญาติพี่น้องแนะนำให้สมัครสอบ ก.พ. ไว้แน่ ๆ  สำหรับน้อง ๆ ที่เพิ่งจบใหม่บางคนอาจยังงง ๆ ว่า “เอ๊ะ…สอบ ก.พ. คืออะไร” หรือกระทั่ง “ต้องสอบอีกแล้วเหรอ ไม่ใช่เรียนจบแล้วสามารถยื่นวุฒิที่มีสมัครงานได้เลยอย่างนั้นเหรอ”  ติวกพ.com จะค่อย ๆ ไขข้อข้องใจเหล่านี้โดยการให้ข้อมูลแก่ผู้อ่านไปทีละประเด็น เพื่อให้ทั้งน้อง ๆ ที่เพิ่งจบใหม่ไปจนถึงคนที่ทำงานแล้วสามารถทำความเข้าใจไว้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผน “Career Path” หรือ “เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ” ได้เลยครับ

การสอบ ก.พ. จำเป็นอย่างยิ่งเมื่อคุณตั้งเป้าอยากเป็นข้าราชการ

ตามบริษัทเอกชนต่าง ๆ มีแผนก HR หรือแผนกทรัพยากรบุคคลคอยคัดเลือกผู้สมัครเข้าทำงาน  หน่วยงานภาครัฐเองก็มี สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า สำนักงาน ก.พ. ไว้ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลในแต่ละระดับวุฒิการศึกษาและสาขาวิชาชีพเข้ามาทำงานกับหน่วยงานราชการ ตลอดจนบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือนเพื่อให้เป็นกำลังขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ฉะนั้น เพื่อคัดกรองบุคคลที่มีความรู้ ทักษะ และศักยภาพสอดคล้องกับลักษณะงาน สำนักงาน ก.พ. จึงจัดการสอบคัดเลือกขึ้น นั่นคือ การสอบ ก.พ. ที่หลายคนคุ้นหูกันดีนั่นเอง

การสอบ ก.พ. มีการแบ่งเป็นภาค ก  ภาค ข  และภาค ค คืออะไร

สอบ ก.พ. มีกี่ระดับ

ประเภทของการสอบ ก.พ. แบ่งออกเป็นภาค ก ข ค ตามลำดับ เวลาเราสอบจึงคล้ายกับการเดินขึ้นบันได

ก.พ. ภาค ก

ขั้นแรกของการจะเข้าทำงานในหน่วยงานราชการได้ต้องสอบ ก.พ. ภาค ก หรือ สอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปให้ผ่านก่อน

ก.พ. ภาค ข

จากนั้นจึงก้าวขึ้นไปขั้นที่ 2 คือการสอบ ภาค ข หรือ สอบเพื่อวัดความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง

ก.พ. ภาค ค

และขั้นสุดท้ายคือ ภาค ค หรือ สอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง

สอบ ก.พ. ภาค ก ข ค

 ในการสอบ ก.พ. ทั้ง 3 ภาค สำนักงาน ก.พ. เป็นผู้รับผิดชอบจัดการสอบภาค ก เป็นประจำทุกปี เพื่อคัดเลือกบุคลากรด้วยข้อสอบกลาง ทุกคนที่ต้องการสมัครบรรจุเป็นข้าราชการจะต้องทำข้อสอบชุดเดียวกันทั่วประเทศ

สรุปการสอบ ก.พ. ภาค ก ปี 64

สรุปเรืองการ สอบ ก.พ.

 ข้อมูลโดยสรุปของการสอบภาค ก ปี 64 มีดังนี้

ช่วงรับสมัครสอบ ก.พ.

โดยปกติจะเปิดรับสมัครช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ทางเว็บไซต์ http://job2.ocsc.go.th (หากมีประกาศของปี 64 จะอัพเดตให้ทราบอีกครั้ง)

การสอบข้อเขียน ก.พ.

โดยปกติมีการจัดให้สอบช่วงกลางปี ของทุกปี (หากมีประกาศของปี 64 จะอัพเดตให้ทราบอีกครั้ง)

คุณสมบัติด้านวุฒิการศึกษาของผู้ที่จะสมัครสอบ ก.พ.

แบ่งเป็น 4 ระดับ

  • ระดับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
  • ระดับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) อนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
  • ระดับวุฒิปริญญาตรี
  • ระดับวุฒิปริญญาโท

ใครที่อยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสอบ ก.พ. ภาค ก สามารถดูได้ที่นี่ -> ก.พ. ภาค ก

เมื่อสอบผ่านภาค ก แล้ว เราต้องมีหนังสือรับรองว่าสอบผ่านภาค ก เพื่อใช้ยืนยันกับหน่วยงานราชการที่กำลังเปิดรับสมัครตำแหน่งงานและเป็นผู้จัดการสอบภาค ข ต่อไป

 ข้อสอบ ภาค ข จะเป็นการสอบข้อเขียนที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ข้อสอบจึงแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งงานที่เราสมัคร  ตัวอย่างเช่น ถ้าสมัครเป็นนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการก็เป็นข้อสอบเฉพาะชุดหนึ่ง  ถ้าเป็นเจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงานก็เป็นข้อสอบเฉพาะอีกชุดหนึ่ง เพราะแต่ละตำแหน่งงานใช้ทักษะเฉพาะทางแตกต่างกัน

เมื่อผ่าน ภาค ข แล้ว ขั้นสุดท้ายก็จะเป็นการสอบ ภาค ค ซึ่งก็คือ การสอบสัมภาษณ์โดยหน่วยงานต้นสังกัดที่เราไปสมัคร นั่นเอง  สิ่งที่กรรมการจะพิจารณาเราในขั้นนี้มีตั้งแต่ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน และพฤติกรรมอื่น ๆ  เรียกว่าคัดกรองทั้งเรื่องการแต่งกาย ทรงผม อิริยาบถ ทัศนคติ ตลอดไปจนถึงวิธีปรับตัวให้เข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสภาพแวดล้อมเลยทีเดียว

งั้นการสอบ ก.พ. ก็ประเมินทักษะที่เฉพาะเจาะจงขึ้นตามลำดับขั้นใช่ไหม?

ใช่แล้ว! ความรู้เฉพาะด้านจะถูกดึงมาใช้มากขึ้น ๆ ในแต่ละรอบที่ผู้สมัครสอบผ่านเข้าไป ทั้งนี้ก็เพื่อคัดเลือกให้ได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นจริง ๆ  เนื่องจากในปีหนึ่ง ๆ มีจำนวนผู้สมัครสอบ ก.พ. ราว 5 แสนคน อัตราการแข่งขันสูงปรี๊ด  ฉะนั้น หากใครสมัครแล้ว ขอแนะนำให้วางแผนเวลาเพื่อเตรียมตัวสอบให้รัดกุม เพื่อการันตีความสำเร็จในสายงานข้าราชการที่หมายปองไว้

…ส่วนใครที่อยากมีผู้ช่วยมาติวเข้มเพื่อให้รับมือข้อสอบ ก.พ. ภาค ก ได้อย่างดี คว้าคะแนนงาม ๆ ไปประกอบการยื่นสมัครสอบภาค ข และภาค ค  ติวกพ.com ขออาสาเป็นผู้ช่วยคนนั้นให้คุณ เพราะเรามีคอร์สตะลุยโจทย์ครบทุกวิชาซึ่งจะทำให้คุณพิชิตข้อสอบ ก.พ. ได้สบาย ๆ อย่าให้ตัวเลขผู้สมัครทำให้คุณเป็นกังวล แล้วมาเตรียมตัวให้พร้อมไปกับเราตอนนี้เลยดีกว่าครับ

พอเข้าใจกันแล้วใช่มั้ย ? ว่าการ สอบ ก.พ. คืออะไร ? ถ้าเข้าใจแล้วทุกคนควรเริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบที่กำลังใกล้เข้ามากันเลย!

เริ่มติวสอบ ก.พ. คลิกเลย

คอร์สเตรียมผ่าน ก.พ.'66

  • ครบทุกวิชา สอนละเอียดแบบจับมือทำ
  • สอนทุกเทคนิคใช้ได้จริงตอนสอบ
  • เนื้อหาล่าสุดสำหรับเตรียมสอบปีนี้
  • ติวรับรองผล เรียนจบ สอบผ่าน!

แจกฟรี ! ข้อสอบ ก.พ. ทุกวิชา พร้อมเฉลยละเอียด

ข้อสอบ ก.พ. ฟรี อัพเดทล่าสุด! คัดข้อสอบมาจากข้อสอบจริง ครบทุกวิชา คณิต ไทย อังกฤษ กฎหมาย โดยทีมงานนักวิชาการ ติวกพ.com

ก.พ. ภาค ก

ภาค ก, ภาค ก พิเศษ ออกสอบวิชาอะไรบ้าง

ภาค ก ท้องถิ่น

การรับสมัคร และวิธีสมัครสอบ ภาค ก

หนังสือรับรอง ภาค ก

สถิติการสอบผ่าน ก.พ. ภาค ก

ก.พ. ภาค ข

ก.พ. ภาค ค

FREE ! PDF ข้อสอบ ก.พ.

ข้อสอบ ก.พ. ฟรี อัพเดทล่าสุด! คัดข้อสอบมาจากข้อสอบจริง ครบทุกวิชา คณิต ไทย อังกฤษ กฎหมาย โดยทีมงานนักวิชาการ ติวกพ.com

เกี่ยวกับข้าราชการ

สวัสดิการ

ฐานเงินเดือน

บำเหน็จ บำนาญ