>

>

ติวสอบ ก.พ. อย่างไรดี?

ติวสอบ ก.พ. อย่างไรดี?

การสอบ ก.พ. คืออะไร สำคัญอย่างไร

“ข้าราชการพลเรือนสามัญ” คือ ข้าราชการที่ทำงานอยู่ในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยกเว้น ครู ทหาร ตำรวจ อัยการ ตุลาการ หรือข้าราชการท้องถิ่น เป็นต้น ผู้สนใจที่เข้ารับราชการพลเรือนสามัญ ต้องมีใบรับรองการสอบผ่านภาค ก. (ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐกำหนดว่าต้องใช้ใบรับรอง)

การสอบภาค ก. ของสำนักงาน ก.พ. มีความสำคัญอย่างมากต่อคนที่ต้องการจะทำงานราชการ เพราะหน่วยงานราชการหลายแห่งไม่ว่าจะเป็นกระทรวง ทบวง กรม ต้องการใบรับรองการสอบผ่านภาค ก. เพื่อเป็นคุณสมบัติแรกในการคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตามหน่วยงานต่างๆ (ภาค ข และ ภาค ค)

ภาพแสดงวิธีการเข้าสู่อาชีพรับราชการ (ที่มา http://job.ocsc.go.th/webjob_2015/p5.aspx )

ปัจจุบัน สำนักงาน ก.พ. ดำเนินการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป เพื่อเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ 3 รูปแบบ ได้แก่ การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปประจำปี (ภาค ก.)  , การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปสำหรับส่วนราชการต่างๆ (ภาค ก. พิเศษ) และการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์   

วิชาที่ออกสอบในภาค ก. ประกอบด้วย 3 วิชา ได้แก่

  1. วิชาความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
  2. วิชาภาษาไทย (คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน)
  3. วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน)

เกณฑ์การสอบผ่าน

  • ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้สอบผ่าน จะต้องเป็นผู้สอบ วิชาความสามารถทั่วไปและวิชาภาษาไทย ได้คะแนนรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ ( 90 คะแนนขึ้นไป ) และสอบวิชาภาษาอังกฤษ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ (50 คะแนนขึ้นไป)
  • เฉพาะระดับปริญญาโท ผู้สอบผ่าน จะต้องเป็นผู้สอบ วิชาความสามารถทั่วไปและวิชาภาษาไทย ได้คะแนนรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๕ และสอบวิชาภาษาอังกฤษ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐

ผู้สมัครสอบที่มีหลักฐานรับรองผลการทดสอบ ภาษาอังกฤษ TOEFL (ไม่รวม TOEFL ITP) TOEIC IELTS CU TEP หรือ TU GET ที่ยังไม่หมดอายุการรับรองผลการทดสอบ และได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของการทดสอบนั้น ๆ สามารถใช้ทดแทนการสอบภาษาอังกฤษได้

ทดสอบภาษาอังกฤษ

ตารางแสดงคะแนนการสอบภาษาอังกฤษที่สามารถใช้ทดแทนการสอบภาษาอังกฤษของ ก.พ. ได้

สถิติการสอบที่น่าตกใจในหลายๆปีที่ผ่านมา

ในทุกๆปี จะมีคนสอบผ่านแค่ประมาณ 4 % จากผู้เข้าสอบทั้งหมด นั่นหมายความว่า มีผู้สอบตกราวๆ 96% ในทุกๆปี อย่างไรก็ตาม คนที่สอบตกก็ไม่ได้แปลว่าเขาไม่มีความรู้ แต่อาจจะเพราะว่า เขาไม่รู้ว่าข้อสอบออกอะไรมากกว่า จึงเตรียมตัวไม่ตรง อ่านไปไม่ถูก จึงได้คะแนนออกมาน้อยและตก

สถิติ สอบผ่าน ก.พ. ภาค ก

สาเหตุหลักๆที่ทำให้หลายๆคนสอบตก

สาเหตุหลักๆของการสอบตกภาค ก สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

  1. หนังสือหรือคอร์สติวที่ไม่ตรงกับแนวข้อสอบจริง

– หนังสือและคอร์สติวในท้องตลาด หลายๆคอร์ส ก็ค่อนข้างดี แต่ก็มีอีกหลายคอร์สที่เขียนขึ้นมาและใช้สอน ก็แทบจะไม่ตรงกับข้อสอบจริงๆที่ออกเลย หากสังเกตดีๆก็จะพบว่ามีการเขียนและสอนเหมือนผู้สอนไม่เคยมีประสบการณ์การสอบผ่าน ก.พ. มาก่อนเลยด้วยซ้ำ

– นอกจากนี้หนังสือหรือคอร์สติวบางที่ยังเอาสิ่งที่ไม่มีในข้อสอบจริงมาสอน เช่น เอาเนื้อหา ม.ปลาย มาสอน ทั้งๆที่ ก.พ. ไม่ได้ออกเนื้อหา ม.ปลาย (ออกแค่ระดับประถม – ม.ต้น ) เรื่องเหล่านี้ก็ทำให้คนหลงทางและเสียเวลามาก็เยอะ

– ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลให้ผู้อ่านหรือผู้เรียน อ่านแล้วไม่ตรง หรือเตรียมตัวไปไม่ตรง ซึ่งจะส่งผลมากๆทั้งในด้านเวลา เพราะ ก.พ. สอบปีละครั้ง และนอกจากนี้คอร์สติวหลายๆคอร์ส ยังราคาแพงเกินจริง เช่น คอร์สราคาหลักหลายพัน หรือหลายหมื่น เป็นต้น ซึ่งราคาค่อนข้างโอเวอร์เกินจริง

  1. ผู้สอบมีพื้นฐานความรู้ไม่แน่นพอ

– หากผู้สอบมีพื้นฐานในเรื่องนั้นๆไม่แม่นพอ เช่น ไม่มีพื้นฐานคณิตศาสตร์ ไม่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษ เป็นต้น เรื่องเหล่านี้ก็เป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้หลายคนสอบตก เพราะ การสอบผ่าน ก.พ. ก็ต้องใช้ความรู้พื้นฐานพอสมควรเลยทีเดียว

วิธีการเตรียมตัวสอบภาค ก. ที่ถูกต้อง

  1. รู้ว่าข้อสอบออกอะไร มีน้ำหนักคะแนนเท่าไร วิชาอะไรมีความสำคัญและมีผลต่อการสอบตกและสอบผ่าน
  2. รู้ว่าแต่ละวิชาออกหัวข้ออะไรบ้าง และรู้ว่าแนวข้อสอบจริงออกยากหรือง่ายประมาณไหน
  3. ไม่อ่านเรื่องที่ไม่ออกสอบ ไม่อ่านในเรื่องที่เกินเนื้อหา เพราะนอกจากเสียเวลาแล้ว ยังอาจทำให้เราพลาดเรื่องที่เราควรจะทำได้ในอีกหลายๆเรื่อง
  4. หาหนังสือหรือคอร์สติวที่น่าเชื่อถือ ยกตัวอย่างเช่น หนังสือหรือคอร์สติว ควรจะออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นจริงๆ และเชื่อถือได้
  5. หนังสือก็ควรมีชื่อผู้แต่งชัดเจน(ชื่อจริง นามสกุลจริง) หรือ คอร์สเรียนก็ควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้ เช่น ชื่ออาจารย์ผู้สอน (ชื่อจริง-นามสกุลจริง) ควรตรวจสอบได้ มีความชัดเจนและน่าเชื่อถือ
  6. หากหนังสือหรือคอร์สติวถูกเขียนโดยผู้สอบผ่าน ก.พ. จริง (มีใบรับรองยืนยัน) ก็ยิ่งน่าเชื่อถือมากขึ้น เพราะอย่างน้อยอาจารย์ท่านนั้นก็เคยสอบผ่านมาก่อน และเคยเห็นข้อสอบจริงมาก่อน ทำให้เป็นประโยชน์ต่อการออกแบบการสอนที่ใกล้เคียงกับข้อสอบจริงมากที่สุดทั้งหัวข้อที่ออกและระดับความยากง่าย

ควรอ่านหนังสือหลายๆเล่ม หรือเรียนคอร์สติวมากกว่า 1 คอร์ส เพื่อจะได้แนวคิดและเทคนิคที่หลากหลายกว่าการเรียนหรืออ่านหนังสือเพียงเล่มเดียว (หนังสือและคอร์สติว ควรมาจากอาจารย์คนละท่าน ไม่ใช่ท่านเดียวกัน)

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
Recent Post
หลักเกณฑ์และวิธีการสอบภาค ก

หลักเกณฑ์ และวิธีการสอบภาค ก

รับสมัครสอบ ข้าราชการ พลเรือนสามัญ

รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการพลเรือนสามัญสังกัดกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

ประกาศสำนักงาน ก.พ. ระเบียบการสอบ

ประกาศสำนักงาน ก.พ. เรื่อง กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบ เพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ประจำปี 2562

ข้อสอบ ก.พ. คณิตศาสตร์

แนวข้อสอบก.พ. พร้อมวิดีโอเฉลย ตัวอย่างที่ 1 | 2562

ติวสอบ ก.พ. อย่างไรดี?

– – Share เรื่องที่มีประโยชน์กับเพื่อนๆ ของคุณ – –

เรื่องล่าสุดที่คุณไม่ควรพลาด

เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ก.พ.

คอร์สเตรียมผ่าน ก.พ.'66

  • ครบทุกวิชา สอนละเอียดแบบจับมือทำ
  • สอนทุกเทคนิคใช้ได้จริงตอนสอบ
  • เนื้อหาล่าสุดสำหรับเตรียมสอบปีนี้
  • ติวรับรองผล เรียนจบ สอบผ่าน!